PMU ทุนทางวัฒนธรรม
Responsive image


ลายประจำยาม

ประเภท : วัฒนธรรมการแต่งกาย

Re-creation : ลายประจำยาม .

รายละเอียด :

ลายประจำยามเป็นลายไทยพื้นฐาน นอกเหนือจากลายกระจัง และลายกระหนก เป็นลายที่ใช้สำหรับการออกลาย ผูกลาย (ประดิษฐ์ลาย) สำหรับลายอื่น ๆ ต่อไป เช่น ลายรักร้อย ลายหน้ากระดาน ลายประจำยามก้านแย่ง และลายราชวัตร เป็นต้น แม่ลายประจำยาม เป็นแม่ลายสำคัญอีกแม่ลายหนึ่งของการเขียนภาพไทย โดยรูปทรงทั่วไปจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสตรงกลางเป็นรูปวงกลมมีสี่กลีบคล้ายกับดอกไม้ และกลีบทั้งสี่ก็มาจากรูปทรงของแม่ลายกระจังตาอ้อยนั่นเอง ซึ่งแม่ลายประจำยาม สามารถแตกแขนงออกไปได้อีกมากมาย โดยการใส่ไส้ซ้อนเข้าไป จนดูหรูหรามากขึ้น และรูปทรงยังสามารถเปลี่ยนจากสี่เหลี่ยมจัตุรัสเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนได้อีกด้วยซึ่งทำให้เกิดความงามที่แตกต่างไปอีกแบบหนึ่งวิธีการเขียนแม่ลายประจำยาม เริ่มจากการเขียนรูป สี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้าง 3 นิ้ว แบ่งกึ่งกลางข้างละ 1.5 นิ้ว และส่วนที่เป็นทรงกลม ตรงกลาง 1 นิ้ว เมื่อได้รูปโครงร่างตามแบบแล้ว ขั้นต่อมาให้เขียนรูปวงกลมก่อน โดยกางวงเวียนออกรัศมีครึ่งนิ้ววาดทั้งทรงกลมด้านในและด้านนอก โดยให้ทรงกลมด้านในที่เป็นไส้ลายมีน้ำหนักเส้นเบากว่าทรงกลมที่เป็นเส้นรูปด้านนอกวาดกลีบดอกทั้ง 4 กลีบ กรรมวิธีเช่นเดียวกับ การเขียนลายกระจังตาอ้อย โดยจะเลือกเขียนให้กลีบ มีรูปแบบเป็นการบากลายเข้าหรือบากลายออกก็ได้ เมื่อวาดได้รูปทรงทั้งหมดแล้ว ขั้นสุดท้ายคือการใส่กลีบรองดอกที่มุมเว้าทั้ง 4 เป็นอันเสร็จสมบูรณ์

 

การต่อยอด :

“NEOTH” เป็นผลงานที่ต้องการแสดงให้เห็นถึงความเป็นไทยในรูปแบบใหม่ โดย NEO=ใหม่ และ TH=ไทย ซึ่งได้นำลายไทยที่เรียกว่าลายประจำยามมาออกแบบสร้างให้เกิดเป็น ลวดลายใหม่ที่มีการแทรกเรื่องราวของลายลงไปในการออกแบบ โดยลายประจำยามหรือลายสามยามที่มาจากการที่ในสมัยก่อนจะใช้เป็นยามรักษาการณ์เพื่อป้องกันผู้ที่คิดมิดีมิร้ายโจรกรรมของมีค่า โดยอาจจะมีการลงคาถาอาคมประกอบไว้ด้วย

ชื่อทีม : Cocoon

รายชื่อ :

1.นายพิมวิภา ชาญณรงค์

2.นายบุลภรณ์ ไชยวงศ์

3.นางสาวสลิลพิชญา ประภาสอิสริยะ

4.นางสาวสุพิชญาน์ เพ็งประพัฒน์

Link Images : https://drive.google.com/drive/folders/15qtcM1DykDe8GeznWQpcNrROGGIXX6im?usp=sharing

Link Vdo : https://drive.google.com/file/d/1IKZAjk4xQ4AW2hof_y13e90VlN7GbUXg/view?usp=drive_link

ช่องทางการติดต่อ : -

ผู้บันทึกข้อมูล : S-curve

เข้าชม : 130 ครั้ง